ร้าน ตู่ สาละวิน
www.tousarawin.99wat.com
086-921-0443
tou​salawin​
บริการแบบมิตร เน้นความจริงใจ ต่อกัน .. วัตถุมงคลทุกชิ้น ล้วนมาจากบ้านๆ.. ทุกชิ้น​ ล้วนผ่านการพิจารณาเป็นอย่างดี​ ก่อนลงเสนอ​ รับประกันความเก่าแท้ 100% . . รับประกัน​ความ​พอใจ​ และ​ เก่าแท้​ ภายใน​ 7วัน ​ตั้งแต่​ รับของ​ หากตรวจ​สอบว่าไม่แท้​.. ยินดี​คืนเงิน​เต็ม​ จำนวน​ ในระยะเวลาที่กำหนด.. ​✨✨"รูปภาพ" ​ หรือ​ "ข้อมูล​ค้นคว้า" นี้​ ทางร้าน​ไม่อนุญาต​นำไปใช้โดย​ "พลการ"✨✨✨
 
แมลงภู่ ศิลป์โบราณ. จากเมืองหงสาวดี​ < Original​ >


  ส่งข้อความ

ชื่อร้านค้า
ตู่ สาละวิน
โดย
vanglanna
ประเภทพระเครื่อง
เครื่องราง
ชื่อพระ
แมลงภู่ ศิลป์โบราณ. จากเมืองหงสาวดี​ < Original​ >
รายละเอียด
แมลงภู่ไม้แกะลงรักชาด เก่าๆๆ อายุนับร้อยปี

และ แมลงภู่งาแกะ. อายุนับรุ่นคน.



แมลงภู่มหา​เสน่ห์​ แห่งดินแดนล้านนา(ไทยใหญ่)​

รายละเอียด

เครื่องรางดินแดนล้านนา
"แมลงภู่มหาเสน่ห์" หรือ "แมงปู๊" ภาษา ที่ไทยใหญ่ เรียกขานกัน

...เครื่องรางแบบนี้ ได้ถูกนำมาใช้ แต่สมัย ท่าน บุเรงนอง และมีบันทึก ไทยใหญ่ ไว้ว่า เมื่อยามศึกสงครามพม่าได้ใช้ศาสตร์นี้เสก แมลงภู่ที่อาถรรพ์นี้ ใช้เป็นอุปเท่เล่ห์กลในยามศึกต่างว่ากันเสกให้เป็นฝูงผึ้ง ฝูงต่อ-แตนได้ไปทำร้ายคู่ต่อสู้อีกฝ่ายให้เจ็บป่วย แล้วช่วงชิงบุก เอาชัย ...เป็นต้นมา

และหลายๆท่านบอกชาวบ้านชายแดนใช้พกห้อยติดตัว บ้างก็แขวนไว้ในหน้าประตูบ้านฝั่งในบ้าน

...บ้างก็พ่อ-ค้า แม่่-ขาย ใช้แขวนไว้ในร้านค้า ของตน ต่างมีความเชื่อกัน ในเรื่อง ปกป้องกันภัย บ้างกันผูตผีปีศาจร้าย บ้างกันของคุณไสยเข้าตัว ค้าแม่นขายหมานต่างๆ นานา.

.แมลงภู่นี้มีถิ่นกำเนิดจากจาก พม่า กรุง หงสาวดี ในแต่เดิม..

มีผู้เฒ่าแก่หลายท่าน ตามชายแดน บอก"แมงปู๊" นี้ไม่ธรรมดา แต่ก่อนในยุค สมัยนั้น...ได้สร้าง จากวัสดุที่วิเศษมาก

* วัสดุ ที่ได้เคย​ พบเห็น และพบเจอ
- เนื้อหินแกะ
- เนื้อดินปั้นอาถรรพ์
- ไม้เนื้อหอม (เป็นไม้ที่พม่ามักนำมาสกัดเป็นเครื่องหอม)
- ไม้เนื้อแข็ง เช่น ไม้เต็ง ไม้รัง ไม้แดง ไม้สัก เป็นต้น
- เนื้องาช้างแกะ (งากระเด็น งาหักคาต้นไม้ เป็นต้น)
- เนื้อเขาแกะ เช่น เขากวาง เขาเก้ง เขาควายป่า เป็นต้น
- เนื้อเขี้ยวแกะ เช่น เขี้ยวเสือ เขี้ยวหมี เขี้ยวหมูตัน เป็นต้น
-เนื้อโลหะ​ เช่นเนื้อโลหะทองผสม, เนื้อสำริด​ เป็น​ต้น
- เนื้อ อื่นๆ ที่อาถรรพ์ อีกหลากหลาย​ เป็นต้น

วัสดุ​ เหล่านี้​ ใช้เวลาในการเสาะแสวงหา​ ตระเตรียม​ กว่ารวบรวมได้​ แล้วมาจัดสร้างตาม​ ฤกษ์​ยาม​อันดี​ ..
โดยพ่อปู่​ -​ พ่อครู​ ไทยใหญ่​ ตามสถานที่นั้นๆ​ หรือ​ ตามเมืองนั้นๆ​
โดยเชื่อกันว่า​ เล่าเรียน​มาจาก​ เหล่าเซียน​ ทั้งหลายในครั้งอดีตกาล​ มา..
มีผู้รู้​ บอกผม​ ท่าน​ โบโบยี​, พู่พู่อ่อง​ เป็นหนึ่งในตำรา​สร้าง แมลงภู่​ นี้​ (อันนี้เขียน​ความรู้เพิ่มเติมนิดหนึ่ง​)​ ตามคำบอกเล่าผู้รู้​ท้องถิ่นมาแชร์​ประสบการณ์​ แบ่งปัน​ กัน​ น่ะครับ..

* ความเชื่อ​ ในเรื่อง
- ป้องกันภัยจากภูตผีปีศาจ
- ป้องกันโจร
- ป้องกันภัยจากคุณไสย
- เสริมอำนาจวาสนา
- ค้าแม่นขายหมาน (ค้าขายดี)
- คนรักคนหลง
- เป็นเสน่ห์ต่อเพศต่อข้าม
- เป็นที่รักต่อคนและเทวดา

ปัจจุบันแมลงภู่ยังมีการสร้าง ตลอดเรื่อยมา​จนถึงปัจจุบันนี้​

.เจตนาของสร้าง ..คล้าย " เบี้ยแก้​ " ไทย​
เครื่องราง​ ชาวไทยใหญ่ ต่าง ศรัทธากันมาก

ผู้รู้เคยบอก​ และจากการสอบถามผู้เฒ่าผู้แก่​ท้องถิ่น​

แมลงภู่​ จะมี​การจัดสร้าง ด้วยกัน​ อยู่​ 2แบบ​ ด้วยกัน

1.ปรอทสำเร็จ​ ปรอท(โลหะ)​
2.ปรอทน้ำ​

แบ่งแยกรายละเอียด​ ดังนี้..

* ปรอทสำเร็จ​ ปรอท(โลหะ)​
ศิลป์​มาจาก​ เมืองหงสาวดี​
รูปแบบการแกะ โบราณ ไม่อ่อนช้อย เลียนแบบ สัตว์ในวรรณคดี เพราะว่าคนโบราณ มักจะจินตนาการ หรือ สร้างตามรูปฝาหนังอุโบสถและ เขย่าจะมีเสียงดัง แตรกๆ​ เสียงนี้​ ก็​ คือ​ ปรอทสำเร็จ​ ปรอท(โลหะ)​ จะมีด้วยกัน​ 3​เม็ด​ เวลาเขย่า​ จะทำหน้าที่​ เม็ด​ หัว​-ท้าย​ ตกกระทบเม็ดกลาง​ ทำให้เกิดเสียง​ดัง​ แตร็กๆ​

* ปรอทน้ำ
ศิลป์สวยๆ มาจากเมือง อิรวดี แกะโดยมีเลียนแบบได้เป็นธรรมชาติ​กว่า แมลงภู่​จริงๆ​ เวลาเขย่าจะมีเสียงดังขลุกๆเพราะว่าปรอทวิ่งไปมา เป็นปรอทน้ำ​ โดยเจาะส่วนท้อง​บ้าง​, ส่วนก้นบ้าง​, ส่วนท้ายทอยบ้าง​ โดยการเอาปรอทน้ำเข้าไปแล้ว​ อุดด้วยมะเขือ​บ้า​, บ้างก็อุดด้วยชันโรงใต้ดิน​

สมัยก่อนยังมีความเชื่อกันว่า​ : เสกปรอทเข้าท้องแมลงภู่​ จนแมลงภู่​บินได้​ หรือ​ เสกให้​ แมลงภู่​ มีชีวิตกินปรอท​ เข้าไปในท้อง​ จนแมลงภู่​บินได้​ ถ้าตัวไหนบินไม่ได้​ ก็ยังใช้ไม่ได้​ ตัวที่ใช้ได้ต้องเสกจนบินได้เท่านั้น..

(แล้วแต่ความเชื่อส่วนบุคคล)​เราเขียนตามคำบอกเล่าผู้​เฒ่าแก่​

.หยิบมาฝาก เรื่องราว ที่กระผมเอง เขียนเล่ามานี้ ได้มาจากประสบการณ์ และจากการสอบถามผู้รู้ตามท้องถิ่นและเครดิตข้อมูลจากหลายๆท่าน หวังว่าเรื่องราวเหล่านี้ คง จะเป็นประโยชน์ ต่อท่าน ไม่มาก ก็น้อย

ข้อมูล​ท้องถิ่น​พื้นบ้าน​ชาว​ไทยใหญ่​ และ​ชาว​ล้า​นนา​ : ตู่​ สาละ​วิน​

"รูปภาพ" และ​ "บทความ" นี้​ ไม่อนุญาติ​ให้​นำไปใช้​โดย​ "พลการ"

เรียบเรียง​เขียน​ และ​ ค้นคว้าข้อมูล​
ตู่​ สาละ​วิน​















ราคา
เพื่อการศึกษา
เบอร์โทรศัพท์ติดต่อ
086-9210443
ID LINE
tou​salawin​
จำนวนการเข้าชม
2,269 ครั้ง
บัญชีธนาคารที่ใช้ยืนยันตัวตน
ธนาคารทหารไทย / 322-2-62235-3